11 วิธีการเบื้องต้น ที่ทำให้คนทำงานประจำเที่ยวง่ายเที่ยวถูกกว่าชาวบ้านเค้า

เมิง…

คืองี้….

กูทำรีวิวท่องเที่ยวมา 6 ปีละ ถู ๆ ไถ ๆ จนรู้วิธีการเดินทางในหลาย ๆ แบบ ซึ่งในแบบที่กูถนัดสุดคือ แบบที่คนทำงานประจำมีวันน้อยๆ ไปเที่ยวด้วยงบที่มันจำกัดแบบไม่เว่อร์วัง ที่สำคัญคือ กินดี อยู่ดี

ในที่นี่คำว่ากินดีอยู่ดีของแต่ละคนก็จะต่างกัน แต่กูขอบอกเลยว่า คำว่ากินดีอยู่ดีของกูนั้น อยู่ในพื้นฐานการใช้ชีวิตที่อยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป นี่ก็ว่าเทสต์กูก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น

ซึ่งจากหลาย ๆ คอมเม้นท์ ไม่ว่าใต้โพสต์หรือการแชร์ ก็จะมีหลากหลายความเห็น แต่มีอยู่ความเห็นแนวหนึ่งที่กูเห็นใจ และอยากบอกว่ากูก็ไม่ได้ต่างอะไรจากมึงเลยในสมัยก่อน นั่นก็คือคอมเม้นท์เชิงแบบว่า…

” ทำไงถึงจะได้ไปแบบนี้บ้าง ”

” อยากไป แต่เงินไม่มี ”

” เมื่อไหร่จะมีเงินได้ไปเที่ยวเหมือนคนอื่นเค้… สัส!!!

เมิงเลิกบั่นทอนตัวเองด้วยคำพูดที่ทำร้ายตัวเองก่อนเลยเป็นอันดับแรก กูแค่อยากจะบอกว่า ถ้ามึงอยากเดินทางจริงๆ มันมีหลายวิธีที่เค้ามาเป็นตัวช่วยเรา ไม่ว่าจะโปรฯ ต่าง ๆ วางแผนก่อนเที่ยวดี ๆ หาอะไรทีี่เราไปแล้วเงินในกระเป๋ามันรับได้ ซึ่งการวางแผนที่ดีแม่งมีชัยไปกว่าครึ่ง ไม่ว่าจะเรื่องรบ เรื่องเที่ยว และเรื่องรัก อ่ะฮิ้ววววว!!!

ฉะนั้นแล้ว การที่คนทำงานประจำอย่างเรา ที่มีค่าใช้จ่ายมากมายกับรายได้ที่ฟิกซ์คอร์สต่อเดือนมาให้แล้ว ก็ต้องประมาณเงินของแต่ละคนเอาเอง ว่ามีประมาณไหน มีเยอะ ก็สบายหน่อย มีน้อยก็ต้องทำใจ และถ้าอยากไปจริง ๆ ต้องเก็บอย่างมีวินัย และความเลิศคือการหาเงินเพิ่มในอีกทางหนึ่ง ซึ่งนี่สนับสนุนมาก ๆ

เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาดูวิธีที่จะทำให้การท่องเที่ยวใน Destination นั้น ๆ ของเราเป็นไปได้กันดีกว่า ว่าหลักการและวิธีการที่กูใช้มาตลอด 6 ปีเนี่ย มีประมาณไหน ซึ่งก็ต้องเข้าใจว่า เราจะไม่นับรวมในทริปไปตายเอาอาบหน้านะ เพราะมันคนละแบบกัน อ่ะเริ่ม!!!

  1. หา Destination ที่เป็นไปได้ก่อน เป็นไปได้นี่คือหมายความว่า ที่ที่ไม่ไกลเกินไป อาจใช้งบน้อย ไม่ต้องทำวีซ่า และดูไม่อันตรายสำหรับมือใหม่อย่างเรา
  2. ซึ่ง จริง ๆ แล้ว ทุกที่แม้แต่ในประเทศไทยก็อันตรายหมดแหละ ฉะนั้น การจะไปในที่ใดที่หนึ่งในช่วงนั้น ๆ ที่เราแพลนไว้ ต้องดูข่าวสารบ้านเมืองเค้าด้วย ว่าเกิดเหตุอะไรหรือเปล่า เช่น มีการประท้วงไหม แผ่นดินไหวไหมเอ่ย ภูเขาไฟอยู่ในช่วงประทุหรือไม่ อะไรประมาณนั้น
  3. ค่าเงินจะบอกว่าไม่สำคัญก็ไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นน้ำหล่อเลี้ยงเราตลอดทั้งทริปนั้น เรื่องนี้ อาจเอาไปคิดควบคู่กับ Destination ก็ได้ อย่างเช่น ช่วงนี้ เงินเยนของจี่ปุ่งลดค่าลงมาจากที่เคย 1 JPY = 30 THB ตอนนี้เหลือ 28 THB นั่นหมายความว่า Destination นี้ก็น่าสนใจ หรือถ้าเรากำลังแพลนว่าจะไปอยู่แล้ว ก็ควรรีบทำให้เป็นไปได้เสียเดียวนั้น เพราะ…. จังหวะแบบนี้ไม่ได้มีบ๊อยบ่อยยยย ฮ่าๆๆๆๆ
  4. เราศึกษาข่าว ดูค่าเงิน หา Destination ที่นี่ก็ต้องมา Focus และ Zoom in เข้าไปใน Area ที่เราจะไปแล้วล่ะว่า จำนวนวันที่เรามี มันพอกับ Area ที่มีให้เราหรือเปล่า เช่น จะไปเวียดนาม ในโซนใต้ มีเวลา 4 วัน เราก็มาดูว่า 4 วันนี้ เราสามารถไปที่ที่เราอยากไปครบหรือเปล่าภายใน 4 วันนั้น ถ้าได้ ก็เดินหน้าต่อเลย
  5. ซึ่งการที่เราแพลนไว้คร่าว ๆ เบื้องต้นจากข้อสี่ จะทำให้เราเห็นสภาพทริปของเราคร่าว ๆ แล้วว่า วันนี้ เวลานี้ ตัวเราจะอยู่ที่ไหน และเราสามารถที่จะรู้กิจกรรมนั้น ๆ รวมถึงวิธีการเดินทางในการย้ายตัวเองไปแต่ละที่ ต้องใช้เวลาในการเดินทางเท่าไหร่ และปัจจัยเท่าไหร่ด้วย
  6. จากข้อห้า เราจะประเมินราคาของทริปทั้งหมดคร่าว ๆ ได้โดยที่เรายังไม่ต้องไปเองเลย เอาจริง ๆ เพียงห้าข้อข้างบนมันก็ควบจะจบได้แล้วในสมัยก่อน เพราะเทคโนโลจี มันไม่ได้ดี และมีอะไรมาช่วยให้เราเที่ยวง่ายขึ้นมากเท่าทุกวันนี้ จริง ๆ จองตั๋วตอนนี้ ก็ไป Destination ที่เราอยากจะไปได้เลยตอนนั้น
  7. แต่… ทุกวันนี้การแข่งขันมันสูง เลยทำให้นักท่องเที่ยวอย่างเรานั้น มีตัวเลือกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่นของสายการบินต่าง ๆ ส่วนลดจาก Code ของเว็บนั้นเว็บนี้ หรือแม้การะทั่ง Promotion อื่น ๆ อีกมากมายที่เราจะพบเจอระหว่างทางที่เราเดินทางท่องเที่ยว
  8. เอาล่ะ เรามาเริ่มจองตั๋วเครื่องบินกันได้แล้ว จากประสบการณ์ส่วนตัว ถ้าจะบินต่างประเทศ แนะนำ https://www.skyscanner.co.th/ แต่ถ้าบินภายในประเทศ แนะนำตัวนี้ https://www.traveloka.com/th-th/ ทั้งสองเว็บนี้คือเว็บไซต์ที่ผมใช้บ่อยที่สุด และจัดการรูทบินให้เราได้รวดเร็ว เหมาะสมกับราคา ตัวตัวกรองความต้องการของเราได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นช่วงบิน เวลาบิน การต่อเครื่อง และอื่นๆ อีกมากมาย
  9. ซึ่งเอาจริง ๆ แล้วเนี่ย Promotion ที่หลาย ๆ เพจ หลาย ๆ เว็บไซต์บอกมา คนทำงานประจำอย่างเรามันไปไม่ได้ตามราคานั้นหรอก ถ้าได้คือโคตรฟลุ๊ค รู้ไหมทำไม เพราะวันที่เราไปมันเป็นวันหยุดยาวไง เรื่องอะไรผู้ประกอบการเค้าจะไปให้มึงใช้ส่วนลดในช่วงที่เค้ามั่นใจว่าเค้าต้องขายหมดแน่ ๆ 100% กูพูดถูกป้ะ เพราะฉะนั้น ดูโปรฯ อ่ะ  ดูได้ แต่ซื้อได้ในราคาโปรฯ ไหม ก็อีกเรื่องหนึ่ง ลืม ๆ มันไปเถอะ คนที่ได้ประโยชน์สูงสุดจริง ๆ คือพวก Freelance หรือพวกที่มีธุรกิจส่วนตัว ไม่ได้ฟิกซ์วันหยุดยาวเหมือนชาวบ้านเค้า
  10. ถ้ามีตั๋วแล้ว การมีที่พักก่อนในบางวัน ก็ย่อมดี ซึ่งตอนนี้คงไม่แนะนำเว็บอื่นแล้วอ่ะ เพราะ www.booking.com คือมาเป็นอันดับหนึ่งเลย และถ้าเพื่อน ๆ จองผ่าน https://www.booking.com/s/palapi11 แบบผูกบัญชีบัตรเครดิทนะ เงินก็จะจ่ายคืนกลับเข้าไปในบัตรฯ แบบสบายกระเป๋าหลังจากเข้าพักเรียบร้อยแล้ว แต่มีข้อแม้ว่าใช้สิทธิ์ได้แค่คนละ 1 ครั้งเท่านั้น และยอดจองต้องมากกว่า 2,000 บาท ขึ้นไป
  11. มาถึงตรงนี้ มีตั๋วบิน มีแผนเดินทาง มีที่พัก ต่อไปบางกิจกรรมเนี่ยนะ ถ้าเราจองไว้ก่อนไป มันจะช่วยประหยัดเวลามั่วหน้างานของเราเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นตั๋วเล่นเครื่องเล่น ซิมการ์ด บัตรรถไฟ และอื่น ๆ เยอะแยะตาแป๊ะไก่ แนะนำให้จองผ่านสองเว็บนี้ นั่นก็คือ KKday และ Klook ทั้งสองเว็บนี้ จะจ่ายบัตรต่าง ๆ พร้อมแจ้งเงื่อนไขที่เข้าใจง่ายมาทาง e-mail และจะให้ Bar code เรามาเพื่อ Scan รับหน้างาน คือง่าย สะดวก ประหยัดเวลา โลกทุกวันนี้ ไม่ต้องใช้กระดาษกันแล้วครับ ทุกอย่างอยู่ในมือถือ และสุดท้ายรู้ไรไหม การจองไปก่อนผ่านสองเจ้านี้ ส่วนใหญ่จะถูกกว่าไปซื้อหน้างานด้วย ฮ่าๆๆๆ

อ่านมาจนถึงข้อ 11 คิดว่าทริปมึงคงเป็นรูปเป็นร่างแบบเอาแต่ตัวเข้าไปในเกมส์และแพลนที่วางอยู่ได้แล้วล่ะ แต่ปัญหาของคนทำงานประจำอย่างเรา นอกจากเงินที่บ่น ๆ กันแล้ว ก็มีเรื่องขอหัวหน้าลางานให้ได้นี่แหละ ที่แม่ง โคตรน่าเบื่อเลย หวังว่าทั้ง 11 ข้อนี้จะช่วยให้ใครหลายคนที่ท้อ หรือกำลังงงว่าจะเที่ยวยังไงให้สามารถควบคุมการเดินทาง บัดเจ็ท และอะไรอีกหลาย ๆ อย่างได้ไม่มากก็น้อย แล้วเจอกันระหว่างทางครับ

Leave a Reply

*