เดย์ทริปตามรอยศาสตร์พระราชา อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร

สวัสดีเพื่อนๆ วันนี้เราจะพาไปเที่ยวชุมพร มาครั้งนี้เรามากับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับโครงการพัฒนาสหประชาชาติ (UNDP) กับโครงการ “ตามรอยศาสตร์พระราชา” ของจังหวัดชุมพร โครงการนี้เกิดจาก 4 ชุมชนในอำเภอปะทิว ได้แก่ ตำบลบางสน ตำบลชุมโค ตำบลสะพลี และตำบลปากคลอง เราเดินทางมายังจังหวัดชุมพรด้วยสายการบินนกแอร์ หรือใครอยากจะมารถทัวร์ หรือรถไฟก็ได้นะจ๊ะ  ออกเดินทางกันตั้งแต่เช้าตรู่ฟ้ายังมืดอยุ่เลย 555

ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงเราก็มาถึงจังหวัดชุมพรแล้วจ้าาาาาา

จากสนามบินเราใช้เวลาประมาณ 10 นาที มาที่ “บ้านไม้ชายคลองโฮมสเตย์” แอบบอกก่อนเลยว่าเราอยากมาที่นี่นานแล้วเพราะได้ยินเชื่อเสียงเรื่องอาหารทะเลกับความชิวมานักต่อนัก

คุณลุงจัดอาหารเช้าฝีมือป้าแก้วภรรยาคนสวยให้พวกเราทาน  ไม่พูดพร่ำทำเพลงกันละหม่ำกันเลย

ทีเด็ดของมือเช้านี้เรายกให้ข้าวต้มทะเลแสนอร่อย  ที่มีกุ้งตัวเบ้อเริ่มและปลาหมึกไข่กรุบๆกรอบๆ  จัดไป 2 ชาม  ฟินมากกกก

ตบท้ายด้วยขนมพร้อมจิบกาแฟชุมพรรสชาติกลมกล่อมอิ่มสบายพุง ฮ่าๆๆๆ

หลังจากอิ่มท้องเราก็พักผ่อนกันตามอัธยาศัย  คุณลุงน้อยก็นั่งคุยกับเราเรื่องความเป็นมาต่างๆ  เรานั่งฟังไปยิ้มไปรู้สึกได้ถึงพลังบางอย่างจากสายตาของลุงแกที่สื่อสารส่งมาให้เรา

ความชิวของที่พัก 10 เต็ม 10 ไปเลย

นั่งคุยเพลินๆ ได้เวลาที่เราจะไปดูการทำน้ำตาลจาก(ใจ) จากลูกจาก เป็นน้ำตาลจาก งงเดะๆ 5555   นั่งรถออกมาประมาณ 10 นาที มาถึงสถานที่ทำน้ำตาลจากกัน แต่น่าเสียดายที่ช่วงที่น้ำน้อย เราเลยไม่ได้ทดลองทำน้ำตาลจากกัน 🙁

คุณลุงเปียกพาเราไปดูป่า  ผืนดินที่ต่อสู้กันยาวนานกว่าจะได้ป่านี้กลับคืนมา ถึงขั้นเลือดตกยางออกดั่งคำคมที่ว่า “ไก่แพ้คนไม่แพ้” ลุงเปียกได้บอกกับเราว่าตั้งแต่ พ.ศ 2532 สมัยพายุเก เราค่อยๆได้ที่คืนมาจากสีแดง สีเหลือง แล้วค่อยมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้ที่ผืนนี้โดนนายทุนนำไปทำเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งทำให้ดินเสีย  กว่าจะต่อสู้ได้มาก็ไม่ง่ายแต่พวกเขาก็ทำสำเร็จ

ปัจจุบันป่าผืนนี้อุดมสมบูรณ์ขึ้นเยอะแต่ยังไม่ 100%  ยังมีบางส่วนที่ต้องคอยซ่อมแซมกันทุกวัน  ที่นี่ขาดแรงขาดทุนมาเพื่อพัฒนาที่แห่งนี้ไม่มีงบจ้างงานจึงเป็นหน้าที่ของชาวชุมชนที่ช่วยกันดูแล   ทำให้เรารู้สึกประทับใจในความพยายามของคนที่นี้มาก  และที่สำคัญคุณลุงบอกกับพวกเราว่าป่าผืนนี้ลุงมอบถวายแด่พระองศ์ท่าน

เราเดินลัดเลาะในสวนตามเพื่อไปดูวิธีการเอาน้ำออกจากทะลายจาก

ป้าแต๋วแกบอกว่ากว่าจะได้ “น้ำจาก” มันไม่ง่ายเลยนะลูกเราต้องทุบถึง 50 ที และลองกรีดดูถ้าน้ำไม่ออกก็ยังไม่ได้นั่งทุบกันต่อไป  ป้าบอกกับเราว่าทะลายนี้ ทุบกันมาประมาณ 1 อาทิตย์แล้ว ฮ่าๆๆๆ

ภายในสวนยังมีร่องรอยประวัติศาตร์ตอนที่พายุเกพัดถล่ม  ลุงน้องบอกว่ามีต้นไม้อยู่ 3 ต้น ที่รอดจากพายุเกมาได้  พวกเราไม่รอช้ารีบเข้าไปถ่ายรูปกัน คือเห็นแล้วแบบว่าใหญ่จริง ใหญ่อะไรเบอร์นั้น ดูได้จากรากที่แผ่ขยายไปทั่ว

เราเดินเล่นเสพธรรมชาติกันสักพักใหญ่และเดินกลับมายังศาลา  ป้าแต๋วแกเดินถือจากทะลายใหญ่มากมาให้พวกเราได้ชิมกันสดๆ ตรงนั้นเลยขอบอกว่ารสชาตดีเวอร์ๆๆๆๆ

วันนี้พวกได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยคุณลุงปลุกต้นไม้  แม้จะเป็นแค่ต้นเล็กๆพวกเราก็รู้สึกดีใจ  คุณลุงบอกกับเราว่าสี่ต้นนี้ไม่ตายแน่นอน รักคุณลุงไว้เรากลับมาหาอีกนะ 🙂

ถึงจะไม่ได้ลงมือทำก็ยังได้ชิมน้ำตาลจาก รสชาติหวานมัน กำลังดี

เสร็จจากตรงนี้เราแวะไปที่ “เขาดินสอ” แต่เนื่องจากเวลาไม่พอเราเลยไม่ได้เดินขึ้นไปข้างบนเอาวิวข้างล่างไปชมก่อนนะ  ฮ่าๆๆๆ

ตรงนู้นๆๆๆ ที่เห็นนอนอยู่ไกลๆกลางทะเลเขาเรียกกันว่า  “เกาะจระเข้”

วันนี้ฟ้าใสดีจัง กิจกรรมตอนเช้าก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว  พวกเรานั่งรถกลับมาที่บ้านไม้ชายคลองโฮมสเตย์ก็เที่ยงพอดีได้เวลาหม่ำอีกล้าวว  ><

เย้เวลาอาหารมาแล้วมาดูกันลุงบอกมีทีเด็ด เขาเรียกว่า “พื้นบ้านแต่เร้าใจ”

อันนี้เด็ด!! หอยจุ๊บแจงผัดกระเพาแซ่บถึงทรวง แนะนำจุ๊บตูดก่อนแล้วมาจุ๊บหัวนะ อิอิ

อิ่มจากของคาวมาตบที่ของหวาน ลอดช่องน้ำตาลจาก คือใส่น้ำตาลจากแทนกะทิ ชื่นใจ๊ ชื่นใจ

ลุงแกโชว์ปลาเสือพ่นน้ำให้เราดูด้วย ฮ่าาๆๆ ตัวอวบมาก มันน่านักๆๆๆๆๆๆ

โปรแกรมตอนบ่ายของเราคือไปโรงรับจำนำปู  ซึ่งคุณลุงแอ๊ดแกบอกว่า ของหรือถังในนี้ได้รับการสนับสนุนมาจาก บริษัท CP

อาชีพหลักของคนในหมู่บ้าน คือ ชาวปรระมง ชาวสวนและรับจ้างทั่วไป สมัยก่อนลุงบอกว่าตอนเริ่มทำแรกๆ  มีชาวบ้านส่วนน้อยที่สนใจเพราะส่วนใหญ่เขาก็ยังไม่เชื่อว่ามันจะทำได้จริงหรอ??  แต่คุณลุงก็ทำต่อไปเรื่อยๆ

พอมีคนนำปูไข่นอกกระดองมาคุณลุงก็ให้เงินไปตัวละ 20 บาท 4-5 วันปูก็จะเขี่ยไข่ตัวเองออกมา ในแก้วที่ลุงแอ๊ดถือคือลูกปูไม่รู้กี่ร้อย กี่พันตัว

เล่าต่อ จนอยู่มาวันนึงชาวบ้านเริ่มรู้ว่าถ้าจับปูได้เยอะขึ้น ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จึงหันมาให้ความสำคัญกับการจำนำปูมากขึ้น

ลุงแอ็ดแกบอกเราว่าปู 1 ตัว มีไข่อย่างน้อยๆ 70 ล้านฟอง โดยเฉลี่ย 5-10% ที่รอด ทุกวันนี้ชาวบ้านบางคนเขาเอามาฝากสตางค์ก็ไม่เอาจากลุงด้วยซ้ำ แถมยังให้เงินลุงสนับสนุนเป็นค่าน้ำค่าไฟอีก

ลุงมีชื่อซอยเป็นของตัวเองเท่ห์ที่สุด เรากำลังจะไปปล่อยปูคืนสู่ทะเลกัน

หลายคนอาจจะแบบคิดว่าปล่อยปูทำไมกินปู  คือมันเป็นวัฏจักรของชีวิตอะเน้อ  ถ้าอะไรที่มันมากไปก็ไม่ดีแต่ถ้ามันสมดุลเราก็ไม่ผิด สรุปไปกินปูกัน 5555

บายยย น้องปูเจอกันอีก 6 เดือน

เสร็จจากโรงรับจำนำปู เราไปดูโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ

มาถึงในส่วนพื้นที่ตรงนี้จะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่  โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการแก้มลิง  คือ

  1. เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยในเมืองชุมพร
  2. เป็นแหล่งน้ำสำรองสำหรับการเกษตรและผลิตน้ำประปาสำหรับชุมชนในอนาคต
  3. เป็นการสร้างงานให้เกิดขึ้นในชุมชน 

เรามีเจ้าถิ่นมาต้อนรับด้วย  “นากน้อย”  มารอพี่ทุกวันเลย

เนื่องจากช่วงที่เราไปนั้นพื้่นที่มีการปรับปรุงเป็นส่วนใหญ่  ที่นี่จะเน้นให้มาศึกษาเรียนรู้แล้วนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับพื้นที่หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของตนเองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สะพานไม้เคี่ยมสร้างโดยแรงงานคนจำนวน 7 คน  ระยะเวลา 45 วัน ที่เราเห็นว่าสะพานสูงๆ ต่ำๆ นั้นมันมีที่มาคือสะพานนี้เปรียบเทียบได้กับชีวิตของคนคนหนึ่งคนตั้งแต่วัยเด็ก วัยเรียน วัยทำงานและวัยเกษียณ ช่วงนี้โครงการอยู่ในช่วงปรับปรุงแต่ยังเข้าชมได้ทุกวันโดยไม่ค่าใช้จ่ายใดๆ

เสร็จสิ้นภาระกิจใน 1 วันของเราละ ก่อนกลับแวะกลับมากินมื้อเย็นก่อนกลับกันเถอะ (กินทั้งวันเลย) ฮ่าๆๆ

ปู หมึก กุ้ง กุ้ง หมึก ปู  โอ๊ยยฟินนน

สถานที่และผู้คนที่นี่มีเสน่ห์น่ารักมาก  เรารับรู้ได้จากแววตาและความจริงใจที่สื่อผ่านมา  เราขอฝากสถานที่นี้ไว้ให้เพื่อนๆลองแวะมาสัมผัสบรรยากาศวิถีชีวิตแบบชาวบ้านกันดูแล้วจะติดใจเหมือนเรา  เอาล่ะวันนี้ลาจากด้วยภาพบรรยากาศสวยๆ จากบ้านไม้ชายคลอง

สำรองที่พักหรือสอบถามข้อมูลกิจกรรมได้ที่ลุงน้อง 080-7791650 แกยินดีตอบทุกคำถามและคนที่นี่น่ารักมากจริงๆ การเดินทางครั้งนี้ขอขอบคุณการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่พามารู้จักกับอีกหนึ่งโครงการของพ่อหลวงของเรา แล้วเจอกันระหว่างทาง 🙂

Leave a Reply

*